e-Pedagogy
คณะบริหารธุรกิจได้ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนเป็นอันดับหนึ่ง โดยทุ่มทุนสร้างอย่างเต็มที่ที่จะสร้างลูกศิษย์เป็นมืออาชีพ ในระดับสากล คณะได้นำกรอบแนวคิดเรื่องมาตรฐานระดับคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ (TQF) เข้ามาบริหารการจัดการเรียนการสอนเรา อยากเห็นลูกศิษย์ ซึ่งเป็นผลผลิตของเรา มีความรู้ความสามารถและทักษะการทำงานอนาคตในศาสตร์ที่ตนเองถนัด ที่เราเรียกว่า เลิร์นเนอร์ เอาคัม (Learner Outcome) โดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบหลักสูตรทีทันสมัยการ ออกแบบการเรียนการสอน โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตหรือ web 2.0 เข้ามาบูรณาการการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่นการใช้งาน e-classroom เป็นเครื่องมือหลัก ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนผ่านอินเตอร์เน็ต นักศึกษา สามารถส่งงานผ่านระบบได้ และคณะบริหารธุรกิจได้สร้างความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยไทยไซเบอร์ยูนิเวอร์ซิตี้ (Thai Cyber University) เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียน รู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คณะได้ส่ง เสริมให้นักศึกษามีการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยนักศึกษาทุกคนได้เป็นสมาชิกโครงการ มหาวิทยาลัยไทยไซเบอร์ยูนิเวอร์ซิตี้เพื่อใช้ดิจิทัลคอน เทนต์ หรือเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้องมีจำนวนรายวิชามาก 500 รายวิชา
คณะได้ปฏิวัติรูปแบบการเรียนการสอนคือนำแนวคิด e-Pedagogy โดยคิดนับหนึ่งจาก หลักสูตรแล้วค่อยแตกออกมาเป็นเนื้อหาในแต่ละ รายวิชาและวัตถุประสงค์ในแต่ละบท จากนั้นให้อาจารย์คิดวิธีการสอนใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับผู้เรียนใรศตวรรษที่ 21 และที่สำคัญต้องนำเทคโน โลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นส่วนสำคัญโดยที่คณะให้ความสำคัญกับวิธีการสอนใหม่ ๆ เช่น เนื้อหาในแต่ละรายวิชาและวัตถุประสงค์ในแต่ละบท ที่ลูกศิษย์ของเราจะได้รับต้องเหมาะสมกับระดับความสามารถของเขาด้วย จากนั้นเราก็มาช่วยออกแบบว่าจะเลือกวิธีการสอนที่มีหลากหลาย แบบเช่น การสอนแบบการบรรยาย การสอนแบบอภิปราย การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักกการสอนแบบโครงงาน การสอนแบบใช้การวิจัย เป็นฐาน การสอนแบบใช้กรณีศึกษา การสอนแบบโดยใช้เกมส์จำลองการบริหารธุรกิจ (Business Simulation Game) ในแต่ละวิธีการได้นำ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าใช้งานร่วมกัน โดยต้องจินตนาการและสร้างสรรค์ เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละ รายวิชา ยกตัวอย่างเช่น คณะบริหารธุรกิจนำการสอนแบบโดยใช้เกมส์จำลองการบริหารธุรกิจ โดยดำริของท่านอธิการบดี ซึ่งท่านเคยมีประสบ การณ์การเรียนการสอนที่ต้องใช้เกมส์จำลองการบริหารธุรกิจจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งซอฟต์เกมส์นี้ใช้ประกอบการเรียนในคณะบริหาร ธุรกิจมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนแก่นักศึกษา รายวิชา หลักตลาด วิชาการจัดการดำเนินงาน วิชาการเงินธุรกิจ วิชาการจัดการธุรกิจขนาดย่อม และวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ จากการสังเกตพฤติกรรม ของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนมีความสนใจ ให้ความร่วมมือและกระตือรอร้นที่จะปฏิบัติเกมส์จำลองการบริหารธุรกิจ ประโยชน์ที่ผู้เรียนได้รับจาาการ เข้าฝึกปฏิบัติเกมส์แบบจำลองการบริหารธุรกิจ ทำให้นักศึกษาเข้าใและสมารถเชื่อมโยงประยุกต์เนื้อหาวิชาที่ได้เีรียนไปเข้ากับสถานการณ์ จำลองทางธุรกิจได้ อันเป็นประโยชน์สำหรับการประกอบธุรกิจในชีวิตจริงต่อไปในอนาคต
การสอนแบบโครงงาน เพ่อให้การเรียนใกล้เคียงกับการทำงานจริงทุกสาขาวิชา ได้มีวิชาโครงงาน ตัวอย่างวิีการสอนแบบโครงงานที่เด่น ของคณะบริหารธุรกิจคือ วิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะ การผลลิตผลงานด้านเทคโนโลยสารสนเทศ ไม่ว่าเป็น ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ประยุกต์ใช้ในองค์การธุรกิจ เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในสาขาวิชาอื่น ๆ ก็เริ่มปรับตัวให้มีรูปแบบการเรียนการ สอนที่เป็นโครงงานมากขึ้น เช่นสาขาวิชาการตลาดและสาขาวิชาการจัดการในปีท้าย นักศึกษาจะสร้างแผนการตลาดหรือแผนธุรกิจพร้อมกับ ดำเนินการจริงในอนาคตต่อไป
การสอบ exit exam คณะบริหารธุรกิจให้ความสำคัญกับการสร้างบัณฑิตให้ได้คุณภาพ ถึงแม้ตอนแรกดูเหมือนว่าสมัครเข้ามาเรียนที่คณะ ไม่ยากนักแต่กระบวนการหล่อหลอมและการตรวจสอบขั้นตอนสุดท้ายมีความเข้มข้นเพื่อให้มั้นใจว่าลูกศิษย์ของเรามีความรู้ความสามารถพร้อม ที่จะออกไปทำงานเลี้ยงตัวเองและรับใช้สังคมตามศักยภาพของแต่ละบุคคลไม่เพียงแต่การจัดการเรียนในระบบที่อยู่ในห้องเรียน คณะบริหารธุรกิจเชื่อว่า ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ของนักธุรกิจชั้นยอดของเมือง ไทยในหลากหลายสาขา เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่อยู่ภายนอกคณะบริหารธุรกิจได้ทำตัวเป็นโซ่ข้อกลางเชื่อมขุมทรัพย์ทางปัญญาภายนอก คณะเข้าสู่ชั้นเรียนเป็นโครงการที่คณะให้ความสำคัญ เชิญบรรดากูรูมาถ่ายทอดเคล็ดความรู้ให้กับนักศึกษาและคณาจารย์ นอกจากความรู็ที่ได้ แล้ว ยังได้แรงบันดาลใจในการบริหารธูรกิจให้ประสบความสำเร็จ ขอยกตัวอย่าง ดร.บุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) คุณสมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช กรรมการผู้จัดการบริษัทเดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง ผู้อำนวยการสถาบัน วิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว ผศ.ดร.จุฑามาศ วิศาลสิง ที่ปรึกษาองค์การการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และท่าน อื่น ๆ อีกมากมาย